
เปียกบนเปียก |
การระบายสีแบบเปียกบนเปียก หมายถึง การระบายน้ำลงบนกระดาษก่อนแล้วจึงระบายสีตามที่ต้องการลงไป การระบายแบบเปียกบนเปียกนี้ จะช่วยให้ท่านระบายสีติดบนกระดาษทุกส่วน เพราะกระดาษบางชนิดระบายสีติดยาก เนื่องจากมีความมันหรือความหยาบขรุขระ การระบายแบบเปียกบนเปียก มีประโยชน์มากเมื่อจะระบายท้องฟ้า หรือผิววัตถุที่มีมัน เพราะจะให้ความรู้สึกกลมกลืนของสีเด่นชัด เทคนิคของการระบายแบบเปียกบนเปียกที่สำคัญมี 2 ประการ คือ
1. การไหลซึม2. การไหลย้อน
เปียกบนแห้ง
ระบายแบบเปียกบนแห้ง หมายถึง การระบายสีบนกระดาษที่ไม่ต้องลงน้ำก่อน คำว่าเปียก คือ พู่กันกับสี ส่วนการแห้ง คือ แผ่นกระดาษ การระบายแบบเปียกบนแห้ง เป็นวิธีระบายทั่วไป ซึ่งมีเทคนิคที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1.ระบายเรียบสีเดียว
2.ระบายสีอ่อนแก่เรียบสีเดียว
3.ระบายเรียบหลายสี

ฉาบสีเรียบ ; w ;
การ ฉาบสีเรียบ เป็นพื้นฐานขั้นสุดที่เรา (เราคนเดียวหรือเราหลายๆ คน แล้วแต่จะคิด) มักจะมองข้ามไป /แหม ก็ลงสีในคอมมันเรียบอยู่แล้วนิ
ตอนที่เราเริ่มหัดวาด เราจะยังเห็นน้ำเป็นแค่สิ่งที่ทำให้สีหายแห้งกรังจากในถาด แล้วปาดลงไปในพื้นที่ที่เราต้องการเท่านั้น
สำหรับสีน้ำแล้ว น้ำคือปัจจัยที่ทำให้ภาพวาดดูมีน้ำมีนวลขึ้น ทำให้สีไม่ด่าง ไม่เน่า ไม่ขุ่น

การฉาบสีเรียบทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้
- แต้มสีมาผสมในที่ว่างของถาด
- ผสมน้ำในปริมาณที่เหลวพอเหมาะ : เหลวพอเหมาะคือสามารถจุ่มพู่กันลงไปอุ้มน้ำได้โดยไม่ฝืด ตรวจสอบว่าที่จุ่มนั่นจุ่มจนพู่กันชุ่มดีหรือยัง ไม่ต้องกลัวเปลืองสี มันไม่หมดเพราะเรื่องแค่นี้หรอกค่ะ ฮา
- ค่อยๆปาดเส้นหนึ่งลงไป สังเกตในภาพว่าเส้นที่ปาดลงไป ไม่ได้แห้ง จะดูชุ่มอยู่ตลอด แต่น้ำไม่เจิ่งมาก
- จุ่มพู่กัน ปาดเส้นที่ 2 เหลื่อมกับเส้นแรก ใช้หลักการเดิม
- ใจเย็นๆ แล้วปาดเหลื่อมกันไปเรื่อยๆ
- เก็บขอบอย่างอ่อนโยนดุจขนนก
- ต้องอาศัยความใจเย็นนิดนึง หลายคนอาจจะคิดว่ามันต้องลงเร็วๆ แต่ที่จริงไม่จำเป็น ถ้าปริมาณน้ำชุ่มพู่กันพอ จะเหลือเวลาให้ลงมาก
- ปาดเส้นแรกลงไปด้วยความเข้มสีปกติแบบ flat wash
- เส้นต่อๆ มา ให้ผสมน้ำลงในสีมากขึ้น
- การแทบไม่ต่างจาก flat wash เลย เพียงแต่เพิ่มจำนวนสีที่ลงขึ้นมานั่นเอง
- ลงสีแรกก่อน จากนั้น ล้างพู่กันอย่างรวดเร็วแล้วเปลี่ยนมาจุ่มสีที่2
- ปาดทับระหว่างสีเดิมตรงรอยต่อ
- ถ้าอยากให้สีคงความบางใส สีสด ควรล้างพู่กันทุกครั้งที่เปลี่ยนสีค่ะ ถ้าไม่ล้าง สีจะกลืนกัน และถ้ามันเป็นคู่ตรงข้ามแล้วกลืนกัน มันจะ…บึ๋ย 5555
- พยายามให้เนื้อสีกับปริมาณน้ำบาลานซ์กัน ถ้าเห็นว่ามันฝืดๆ ให้ผสมน้ำลงในสีมากขึ้นระหว่างรอยต่อของ สี1 กับ สี 2
- ถ้ายังทำแล้วออกมาไม่พอใจ ลองใหม่ดูนะคะ
- ภาพจาก พี่บูม https://www.facebook.com/panlip.boom?fref=ts
- ที่เหลือจาก google